top of page

ประวัติสมาคมฯ

ในปี 2542 เป็นปีที่ เกิดการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการออมและหลักประกันความมั่นคงด้านการออมการลงทุนของชาติ แนวคิดและความมุ่งมั่นของ ท่าน ดร พิสิฐ ลี้อธรรม ในเรื่องการสร้างหลักประกันหลังเกษียณได้ถูกนำมาทำให้เป็นจริง ด้วยความตั้งใจที่จะออกกฏหมายเพื่อให้คนไทยมีชีวิตที่ดีหลังเกษียณ จึงได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นโดยเริ่มจากความร่วมมือของ รัฐวิสาหกิจ และ เกิดการรวมตัวกันของรัฐวิสหกิจของไทย และเอกชนอื่นๆจัดตั้งสมาคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนากองทุนฯให้ความรู้รวมทั้งผลักดันกฏหมายใหม่ๆและช่วยพัฒนาการด้านต่างๆของกองทุน 

Handshake in the Office

Time line

 27 พฤษภาคม 2542

28 มิถุนายน 2542

 10 สิงหาคม 2542

18 สิงหาคม 2542

17 กันยายน 2542

คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ได้พิจารณาเห็นว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบต่องานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ น่าจะได้มีโอกาสพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ ตลอดจนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาบางอยางซึ่งไม่สามารถแก้ไขตามลำพังได้ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้มีมติให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นแกนนำจัดการประชุมร่วมกันระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ รวม 54 รัฐวิสาหกิจ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ได้จัดให้มีการประชุมผู้แทนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยในระยะแรกได้เรียนเชิญ ผู้แทนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, โรงงานยาสูบ, การสื่อสารแห่งประเทศไทย, การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาร่วมต่าง ๆ และกำหนดเจตนารมณ์ในอนาคต ที่ประชุมมีความเห็นว่า หากสามารถรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมได้ จะเกิดประโยชน์ต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจ และเห็นสมควรเชิญประชุมร่วมกันระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรัฐวิสาหกิจต่อไป

คณะทำงานทั้ง 2 คณะ ประชุมร่วมกันเห็นชอบให้รวมทั้ง 2 คณะ เป็นคณะทำงานเดียวกัน โดยรับผิดชอบภาระงานทั้งหมด เรียกว่า คณะศึกษาเตรียมการจัดตั้งสมาคมฯ และศึกษา พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

คณะศึกษาเตรียมการจัดตั้งสมาคมฯ และศึกษา พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประชุมร่วมกันและมีมติให้จัดการประชุมร่วมกันชองรัฐวิสาหกิจเป็นครั้งที่ 2 เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการจัดตั้งสมาคม และทำหนังสือส่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ขอความอนุเคราะห์จัดให้มีวิทยากร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

 การประชุมร่วมกันระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 2 จำนวน 39 แห่ง ณ สถานที่ทำการอาคารสำนักงานใหญ่ การไฟฟ้านครหลวง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบดังนี้
   ให้คณะทำงานฯ ทำการศึกษาและพิจารณาร่างข้อบังคับสมาคมกรณีผู้สมัครสมาชิกสมาคมฯ เป็นกองทุนรวม ทั้งนี้ให้รวมถึงการมอบอำนาจให้เข้าร่วมในกิจการของสมาคมฯ และชมรมกองทุนฯด้วย โดยมอบหมายให้ นายเสกสรร สุภาสวัสดิ์ เป็นผู้ติดต่อแจ้งผลการศึกษาของคณะทำงานฯ ให้ 6 รัฐวิสาหกิจทราบต่อไป
   ให้ผู้แทนกองทุนฯ ทีร่วมประชุม ซึ่งต้องรอการนำเสนอขอมติคณะกรรมการกองทุนฯ จัดส่งหนังสือมอบอำนาจของคระกรรมการกองทุนฯ ภายในต้นเดือนตุลาคม 2542
   ให้จัดตั้งชมรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งรัฐวิสาหกิจและเอกชน และแต่งตั้งให้ผู้แทนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, องค์การเภสัชกรรม, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, การประปาส่วนภูมิภาค, องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการไฟฟ้านครหลวง เป็นคณะกรรมการชมรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

3 มีนาคม 2543

คณะผู้เริ่มการจัดตั้งสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 17 แห่ง ได้ประชุมครั้งที่ 1/2543 ณ ห้องประชุม 138 อาคาร 1 บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ถนนวิภาวดีรังสิต จตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับชื่อสมาคม สถานที่ตั้งสมาคม วัตถุประสงค์ของสมาคม ข้อบังคับของสมาคมพร้อมกับมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชั่วคราวของสมาคม จำนวน 10 คน หลังจากนั้นได้ยื่นขอจดทะเบียนสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
   คณะผู้เริ่มการจัดตั้งสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, องค์การเภสัชกรรม, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ, การประปาส่วนภูมิภาค, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด, องค์การสวนสัตว์, องค์การสุรา กรมสรรพสามิต, กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

17 มีนาคม 2543

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ โดยกรรมการผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ นายยรรยง คุธรวาท ได้กรุณาอนุเคราะห์ให้ใช้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ เลขที่ 131 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ตั้งของ “สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” เพื่อยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

26 เมษายน 2543

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้พิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้ง “สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ได้เลขอนุญาตที่ ต.98/2543

23 พฤษภาคม 2543

ชมรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้จัดประชุมใหญ่สมาชิก ครั้งที่ 2/2543 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม ถนนพระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 74 คน โดยพิจารณาผลการดำเนินการที่ผ่านมา แนวทางในการคิดค่าจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายใหม่ ความคืบหน้าในการจัดตั้งสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การขอบกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศเกี่ยวกีบภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 80) ให้ขยายการยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีที่เข้าเป็นสมาชิกระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2538 และออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย หากเป็นสมาชิกไม่ครบ 5 ปี

28 กรกฎาคม 2543

นายทะเบียนสมาคมประจำกรุงเทพมหานคร ได้รับจดทะเบียน “สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 ตามใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมาคม ทะเบียนเลขที่ จ.3956/2543 โดยมีรายชื่อกรรมการสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 20 พฤศจิกายน 2543

นายทะเบียนสมาคมประจำกรุงเทพมหานคร ได้รับการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 ตามใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนเลขที่ จ.3956/2534

  • Line
  • Facebook

©2035 by Layla Barnies. Powered and secured by Wix

bottom of page